UNCTAD หั่นคาดการณ์ ศก.โลกปีนี้โตเพียง 2.6% เซ่นวิกฤตยูเครน-รัสเซีย

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ลงมาอยู่ที่ 2.6% จากเดิมที่ 3.6% เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

รายงานการค้าและการพัฒนาของ UNCTAD ระบุว่า รัสเซียจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของบางประเทศในยุโรปตะวันตก รวมถึงเอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัวช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อนั้นมีแนวโน้มที่จะหนุนให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินต่อไป ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่คล้ายคลึงกับในช่วงปลายปี 2564 ซึ่งหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และคาดว่าจะมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในงบประมาณที่จะอนุมัติในอนาคต

ปัจจัยต่างๆ เช่น อุปสงค์ที่อ่อนแอทั่วโลก การประสานนโยบายที่ไม่เพียงพอในระดับสากล และระดับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคการเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เศรษฐกิจถดถอย และการพัฒนาหยุดชะงัก

นอกจากนี้ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นจะยิ่งซ้ำเติมให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และทำให้การฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 ยากลำบากมากขึ้นอีกด้วย

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ลงมาอยู่ที่ 2.6% จากเดิมที่ 3.6% เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รายงานการค้าและการพัฒนาของ UNCTAD ระบุว่า รัสเซียจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของบางประเทศในยุโรปตะวันตก รวมถึงเอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัวช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อนั้นมีแนวโน้มที่จะหนุนให้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินต่อไป ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่คล้ายคลึงกับในช่วงปลายปี 2564 ซึ่งหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และคาดว่าจะมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในงบประมาณที่จะอนุมัติในอนาคต ปัจจัยต่างๆ เช่น อุปสงค์ที่อ่อนแอทั่วโลก การประสานนโยบายที่ไม่เพียงพอในระดับสากล และระดับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคการเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เศรษฐกิจถดถอย และการพัฒนาหยุดชะงัก นอกจากนี้ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียนั้นจะยิ่งซ้ำเติมให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และทำให้การฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 ยากลำบากมากขึ้นอีกด้วย อ้างอิง https://m.mgronline.com/stockmarket