รถไฟ “ไฮสปีดไทย-จีน” คืบหน้า ปักธงปี’69 เปิดใช้ “กทม.-โคราช”

วันที่ 28 ธ.ค. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท มีสัญญาการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา คาดว่าจะเปิดบริการตลอดเส้นทางใน ปี 2569

ส่วนงานจ้างออกแบบรายละเอียด (สัญญา 2.1) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญากับรัฐวิสาหกิจจีน คือ China Railway Design Corporation : CRDC และ China Railway International Corporation : CRIC เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2560 วงเงิน 1,706.7 ล้านบาท โดยผู้รับจ้างฝ่ายจีนได้ออกแบบดูหนังฟรีออนไลน์ 2022 เล้วเสร็จ

สำหรับงานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (สัญญา 2.2) ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญากับ CRDC และ CRIC เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 วงเงิน 3,500 ล้านบาท โดยผู้รับจ้างอยู่ระหว่างควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาปี 2564 และประกันผลงาน 2 ปี

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.และฝ่ายจีนร่วมกันทำบันทึกแนบท้าย เพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาในการควบคุมการก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสัญญาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

ขณะที่งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล การจัดหาขบวนรถไฟและการจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญากับ CRDC และ CRIC เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 วงเงิน 50,644.5 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 64 เดือน แบ่งงานเป็น 3 ช่วง คือ

1.งานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูงและออกแบบระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งขบวนรถไฟ
2.งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและการซ่อมบำรุงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
3.งานติดตั้งระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกลระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.01 กม. ปัจจุบันการออกแบบรายละเอียดงานโยธาและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) บริษัทที่ปรึกษาจัดทำแล้วเสร็จ

นอกจากนั้น ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีมติให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วยอีกทางหนึ่ง

ส่วนการเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 27 และการประชุมสามฝ่าย ไทย-ลาว-จีน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์-1มีนาคม 2562 ที่ประชุมเห็นชอบให้การสร้างสะพานแห่งใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งจะมีทั้งทางรถไฟมาตรฐาน 1.435 เมตรและขนาดทาง 1 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ประมาณ 30 เมตร ซึ่งไทย-ลาว-จีน ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 และปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอให้มีการประชุมร่วม 3 ฝ่าย เพื่อหารือแนวทางการก่อสร้างและการเดินรถร่วมกันต่อไป

สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 นั้น มีสาระสำคัญ คือ

1.รับทราบการดำเนินการโครงสร้างทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบให้ปรับแผนงานให้ยืดหยุ่นตามมาตรฐานจีน และสนับสนุนไทยในการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค

2.จะร่วมกันหารือเกี่ยวกับงานบริการที่ปรึกษาของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานงานโยธา ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล

วันที่ 28 ธ.ค. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท มีสัญญาการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา คาดว่าจะเปิดบริการตลอดเส้นทางใน ปี 2569 ส่วนงานจ้างออกแบบรายละเอียด (สัญญา 2.1) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามสัญญากับรัฐวิสาหกิจจีน คือ China Railway Design Corporation : CRDC…